คลังข้อสอบออนไลน์

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร
แบบทดสอบวิชา สค22019 การเรียนรู้สู้ภัยธรรมชาติ 2
1)  เมื่อต้องการติดตามข่าวการพยากรณ์อากาศ เราจะติดตามจากหน่วยงานใด
  กรมวิชาการ
  กรมอุตุนิยมวิทยา
  กรมทรัพยากรธรณี
  กรมทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
   
2)  ดินโคลนถล่มเป็นภัยธรรมชาติที่ทำให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ข้อใดกล่าวถูกต้อง
  เกิดการระบาดของโรคต่าง ๆ
  พื้นที่ทำกินและพืชผลทางการเกษตรเสียหาย
  ต้นน้ำจะถูกทำลายตามมา เกิดภาวะแห้งแล้งเพิ่มขึ้น
  ป่าลดลง สัตว์ป่าก็ลดลง ระบบนิเวศน์ก็จะเสียสมดุล
   
3)  ข้อใดคือชนิดของไฟป่า
  ไฟป่า ไฟใต้ดิน ไฟผิวดิน
  อัคคีไฟ ไฟใต้ดิน ไฟเขียว
  ไฟผิวดิน ไฟเรือนยอด ภัยแล้ง
  ไฟใต้ดิน ไฟผิวดิน ไฟเรือนยอด
   
4)  ข้อใด ไม่ใช่ สาเหตุสำคัญของการเกิดอุทกภัย
  ผลจากการหนุนของน้ำทะเล
  ฝนตกหนักจากพายุหมุนเขตร้อน
  การเกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด
  ความแตกต่างในระดับความสูง-ต่ำของพื้นที่
   
5)  บริเวณใดจัดเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยแบบเฉียบพลัน
  บริเวณริมทะเล
  บริเวณปากน้ำ
  บริเวณที่ราบเนินเขา
  บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ
   
6)  การเกิดภัยแล้งโดยธรรมชาติ เกิดขึ้นจากสาเหตุใด
  การตัดไม้ทำลายป่า
  การทำลายชั้นโอโซน
  ผลกระทบของภาวะเรือนกระจก
  การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
   
7)  ศูนย์กลางพายุ เรียกอีกอย่างว่าอะไร
  ตาพายุ
  หัวพายุ
  เงาพายุ
  เขตพายุ
   
8)  ภัยธรรมชาติใด ไม่เคย เกิดขึ้นในประเทศไทย
  ภัยแล้ง
  อุทกภัย
  แผ่นดินถล่ม
  ภูเขาไฟปะทุ
   
9)  หน่วยงานใด มีหน้าที่ในการแจ้งข่าวพยากรณ์อากาศให้ประชาชนรับทราบโดยทั่วกัน
  กรมอุตุนิยมวิทยา
  กรมวิชาการเกษตร
  กรมทรัพยากรธรณี
  กรมทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
   
10)  ข้อใดที่ภูมิปัญญาชาวบ้านจัดเป็นสัญญาณเตือนภัยที่ถูกต้อง ก่อนเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ
  ผึ้ง มดแดง ทำรังบนยอดไม้ แสดงว่าปีนั้นจะมีฝนตกมาก
  มดดำขนไข่ อพยพไปบนที่สูง เป็นสัญญาณว่าฝนจะตกหนัก
  มีเมฆมาก ท้องฟ้ามีแสงสีแดงในเวลากลางวัน ลมแรง จะมีฝนตกหนัก
  ฤดูร้อนไม่พบรังนกบนต้นไม้ แต่ทำรังใต้หน้าผา บ่งบอกว่าปีนั้นฝนจะตกหนัก